The Life Behind Music Scene Part 2 : Tul Waitoonkiat, Maft Sai, Pichy

11/08/2016

By: WINKIEB

นี่คือศิลปินกลุ่มที่ 2 ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราว Scene ดนตรี Electronic music จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของพวกเขาตลอดสิบปี ทั้งเรื่องของการใช้ชีวิต การทำงาน แง่มุมแปลกๆที่คุณไม่เคยรู้ แถมยังได้ถกปัญหาโลกแตกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของ 3 ศิลปินและ Dj ที่มีต่อ Scene Electronic Music ในเมืองไทย

“ผมว่ามาถึงตอนนี้มันเลี่ยงไม่ได้แล้วหล่ะว่าดนตรี Electronic เป็นส่วนหนึ่งของวงการดนตรีทั่วไป เมื่อก่อนสิบยี่สิปปีที่แล้วมันอาจจะเป็นดนตรีทางเลือกนะ แต่ตอนนี้ใน Mainstream Music ก็แล้วแต่ ก็จะมี Element ของ Electronic Music อยู่เสมอ สังเกตเพลงอย่าง EDM หรือ Hip Hop มันเป็นส่วนหนึ่งของ Pop Culture ไปแล้ว” Tul Waitoonkiat

หนึ่งคำพูดจากบทสัมภาษณ์ที่ทำให้เราต้องย้อนกลับมามองว่าแท้จริงแล้ว Scene ดนตรี Electronic Music ในบ้านเรามันเติบโตไปในทิศทางไหน แต่ก็ขอให้มันมาในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนา

***นอกจากการเป็น Dj หรือศิลปินแล้ว แต่ละคนทำอะไรกันบ้าง***
Maft Sai : นอกจากงาน Dj, Producing วงดนตรีก็มีร้านแผ่นเสียงที่ชื่อ Zudrangma Records , ค่ายเพลง Zudrangma ,ค่ายเพลง Paradise Bangkok, ค่ายเพลง Studio Lam มีบาร์ที่ชื่อ Studio Lam แล้วก็ทำ Airbnb ด้วยชื่อ Bangkok File

Tul Waitoonkiat : หลักทำวง Apartment Khunpa เดี๋ยวนี้งานดีเจผมก็น้อยลงละ นานๆทีจะเล่น เน้นไปที่ Event อย่างเดียว ส่วนเพลงโฆษณาก็มีบ้างนิดหน่อย

Pichy-edit-2

*** อย่างพิชชี่เป็นทั้ง Dj, เป็นคุณแม่ รวมไปถึงการเป็นเชฟ ชีวิต 2 คาแรคเตอร์สำหรับตัวเองแล้ว มันยากมากน้อยแค่ไหน***
Pichy : ถ้าให้ย้อนไปตอนก่อนที่จะมีน้อง เราก็ปาร์ตี้เที่ยวเล่น เปิดเพลง ทำงานไปเรื่อยๆ แล้วพอช่วงที่ท้องจนคลอดลูกช่วงนั้นก็จะหยุดไปเลย 2-3ปี ไม่ค่อยออกไปไหน เลี้ยงลูก แล้วเมื่อช่วงปี 2010-13 ก็ลงทุนเปิดร้านอาหาร ตอนนั้นก็คิดว่าจะเลิกเป็นดีเจแล้ว อยากจะสร้างเนื้อสร้างตัวทำร้านอาหารเพื่อครอบครัว แต่ทำไปทำมามันก็ไม่เวิร์คด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เปิดร้านผิดช่วงเวลาด้วย เจอเรื่องการเมืองเอย เจอน้ำท่วมเอย ปัญหาร้อยแปดพันเก้า ก็เลยต้องปิดร้านไป แล้วช่วงก่อนที่ร้านจะปิด ช่วงนั้นก็มีงานดีเจ งาน event เข้ามา พอลูกเริ่มเข้าอนุบาลก็กลับมารับงานอีกรอบ จนถึงปัจจุบันนี้ลูกก็อายุ 8 ขวบแล้ว ก็ยังมีงานดีเจอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นว่าไอ้ความคิดที่จะเลิกเปิดเพลงก็ให้มันเป็นอดีตไป จากงานอดิเรกที่เรารักมันก็กลายมาเป็นงานหลักหาเลี้ยงครอบครัวได้
ส่วนชีวิตดีเจกับชีวิตของการเป็นแม่ ก็ใช้ชีวิตตามปกติเลย เป็นแม่บ้าน ไปตลาด ทำอาหารให้สามี ส่งลูกขึ้นรถโรงเรียน ลูกกลับมาจากโรงเรียนก็นั่งทำการบ้านกับเค้า วันไหนไม่มีงานก็จะอยู่กับลูกทั้งวัน กลิ้งๆนอนดูหนังนอนดูการ์ตูนกัน วันว่างๆก็พาลูกไปเที่ยว หา activity ทำร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง ส่วนวันไหนที่มีงานก็จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแลค่ะ

Maft-sai

***การก่อตั้งวง Paradise Bangkok และการเปิดร้านแผ่นเสียงหายาก มันให้เราได้เห็นมุมมองอะไรในการทำงานและอาชีพของตัวเองบ้าง***
Maft Sai : จริงๆก็ได้นะ มันอยู่ที่ว่ามุมมองเรื่องอะไร อย่างเช่นเรื่องเพลง ถ้าชอบวงไหนเปิดบ่อยๆมันก็อาจจะมีความตันบ้าง บางครั้งก็ต้องหยุดรับงาน เพื่อที่จะมาทบทวนกับเพลงที่เราเปิด ตราบใดที่เรายังหาเพลงใหม่ๆซื้อแผ่นเสียงใหม่ๆอยู่มันก็ Inspire เราอยู่ตลอดอยู่แล้ว

Tul-edit-1

***การเป็นนักร้องนำวงอพาร์ตเม้นท์คุณป้า, การทำเพลงโฆษณา และการเป็น Dj ทั้ง 3 อย่างที่ว่านี้มีวิธีจัดการกับชีวิตยังไง***
Tul Waitoonkiat : ไม่ค่อยเคยคิดถึงวิธีนะ เราว่ามันก็เป็นปกติที่เราเป็นนักดนตรีแล้วก็ไปเล่นดนตรี และที่เป็น Dj ก็เพราะว่าชอบฟังเพลงชอบสังสรรค์กับเพื่อนฝูง อันนี้เราก็อยู่ในวงการดนตรีเหมือนชีวิตโดยปกติ ใน 1 สัปดาห์มันก็จะมีแบบว่าถ้าไม่ไปเล่นดนตรีเอง เราก็ไปฟังเพลงที่คนอื่นเขาเล่น ไปฟังเพลงที่คนอื่นเขาเปิด สนับสนุนวงการบ้างโดยการ Support Scene ใหม่ๆ อย่างผมจะชอบไปงานที่มี Young genaration เยอะๆผมจะตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เห็นวงการเพลงไทยมีนักดนตรีใหม่เกิดขึ้น จะเป็น Dj หรือนักดนตรีก็เป็นนักฟังเพลง ชีวิตมันก็ประมาณเท่านี้นะ คนในวงการดนตรีมันก็ไม่ต่างจากคนทำงานในวงการออฟฟิตนะ มันจะมี loop ของมัน

***ดนตรี Electronic Music สำหรับคุณแล้วมันคืออะไร ในความหมายของแต่ละคน***
Pichy : electronic music มันก็คือดนตรีเต้นรำ electronic music สำหรับเรามันกว้างมาก แตกแขนงได้เยอะสุดๆ รากเหง้าของดนตรีเต้นรำนี่ก็มาจากหลายๆ Genre ทั้ง Disco, Soul, Funk, Jazz, Hip-Hop, Reggae และอื่นๆอีกมากมาย จนมาเป็นดนตรีหลายๆประเภทที่เราชอบฟัง ก็มีพวก House, Breakbeat, Hardcore, Jungle, Drum & Bass แล้วก็อีกหลายๆ Sub-Genre เลย

Tul Waitoonkiat : มันก็คือดนตรีอีกประเภทนึงนะ ที่นำเครื่องดนตรี Electronic มาใช้ สุดท้ายแล้วดนตรีมันก็คือการสื่อสาร การสื่ออารมณ์ ดนตรี Electronic ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่เทคโนโลยีมันพาไป เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้วมันไม่มี แต่ตอนนี้มันปฎิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้มันอยู่ในชีวิตเรา ดังนั้นมันก็เป็นเครื่องมือที่ทำให้ดนตรีดำเนินหน้าต่อไป

Maft Sai : สำหรับผมมันมีหลากหนายแนว ตั้งแต่พวก Experiment จนไปถึง House Music จนไปถึงหลายๆแนวที่มีอุปกนณ์ Electronic Music เข้ามามีอิทธิพล ผมมองว่า Electronic Music มันกว้าง มัน Inspire หลายๆอย่าง อุปกรณ์ใหม่ๆก็สร้างแรงบันดาลใจให้บางวงที่ทำเพลงเก่า สามารถเอามาใช้และ Develop sound ขึ้นมาได้ ก็อย่างที่ตุลว่านะ มันเป็นเรื่องของอุปกรณ์ เรื่องของ Sound ใหม่ๆมากกว่า

***มันมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคุณแค่ไหน***
Pichy : ก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เปิดเพลงก็อาทิตย์ละ 3-4 วันแล้ว โดยส่วนตัวก็ชอบฟังเพลงอยู่แล้ว จริงๆก็ฟังทุกอย่างนะ มีเวลาว่างก็จะนั่งๆนอนๆฟังเพลง หาเพลงใหม่ๆ หรือขุดเพลงเก่าๆฟัง บางทีนอนไม่หลับก็จะเปิดเพลง Drum & Bass ใส่ Headphones ฟัง ฟังไปซักพักนี่แบบหลับเลย เหมือนเป็นยากล่อมประสาทส่วนตัว

Tul Waitoonkiat : ผมว่ามาถึงตอนนี้มันเลี่ยงไม่ได้แล้วหล่ะว่าดนตรี Electronic เป็นส่วนหนึ่งของวงการดนตรีทั่วไป เมื่อก่อนสิบยี่สิปปีที่แล้วมันอาจจะเป็นดนตรีทางเลือกนะ แต่ตอนนี้ใน Mainstream Music ก็แล้วแต่ ก็จะมี Element ของ Electronic Music อยู่เสมอ สังเกตุเพลงอย่าง EDM หรือ Hip Hop มันเป็นส่วนหนึ่งของ Pop Culture ไปแล้วเอางี้ดีกว่า

Maft Sai : ผมเห็นด้วยนะ มันเป็นส่วนนึงไปแล้วจริงๆ แต่ถ้ามาสายผมอย่างพวกแอฟริกันมิวสิค เรกเก้ หรือเพลงไทย มันก็มี Element ของ Electronic music เข้ามา แค่ Sound Dancehall ที่มี Casiotone, MT 30 อะไรพวกนี้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ จะพูดว่ากึ่ง Electronic ก็พูดได้ ผมจึงมองว่ามันก็มีมานานแล้ว มันก็แล้วแต่ว่าใครจะเอามา Adap ความเป็น Electronic มากน้อยขนาดไหน

***สำหรับคุณแล้ว ดนตรี Electronic Music มันเข้าถึงคนไทยในระดับไหน***
Pichy : คิดว่าปัจจุบันนี้ก็มีคนฟังเพลงเยอะมากขึ้นนะคะ อย่างกระแส Mainstream มันก็ใหญ่จริงๆ มันไม่ใช่แค่บ้านเรา ก็ฮิตทั่วโลกจริงๆ ส่วนบ้านเราตอนนี้เดินไปไหน ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านค้าร้านอาหาร ก็เปิดเพลง EDM และอื่นๆ เราคิดว่ามันเป็นเพราะด้วยสื่อด้วยค่ะ สื่อทีวี สื่อวิทยุ สื่ออินเตอร์เน็ต คนฟังก็มีทางเลือกหลายช่องทาง

ส่วนเพลงทางเลือก มันก็มีคนเสพเยอะพอประมาณนะคะ แต่ถ้าให้พูดตรงๆ scene ดนตรี Electronic ในบ้านเรามันก็ยังคงเล็กอยู่ กี่ปีๆผ่านไป กี่งานๆ ก็นับหัวได้เลย ก็จะเจอแต่คนจำนวนเดิมๆ หน้าเดิมๆ แต่เอาจริงๆ เราก็ชอบนะที่มันเป็นของมันแบบนี้

Tul Waitoonkiat : มันมากขึ้นนะ ตอนนี้เอาง่ายๆว่าวัยรุ่นทั่วไปทุกคนรู้จัก EDM และ EDM มันเป็นสิ่งที่ทำให้โลกทั้งโลกเนี่ยะฟังอะไรคล้ายๆกัน มันก็ปฎิเสธไม่ได้แล้วละ แม้แต่คนไทยวัยรุ่นที่เพิ่งฟังเพลง เขาก็หลีกหนี Sound Electronic ไม่พ้นในชีวิตประจำวันเขาแล้วละ

Maft Sai : อันนี้เห็นด้วยเลยครับ แต่ผมขอเพิ่มอีกเรื่องคือเพลงหลายๆแนว เดี๋ยวนี้มันก็มี Electronic เข้ามาผสม บางทีคุณอาจจะรู้หรือไม่รู้ ว่ามันคือ Electronic แต่อุปกรณ์ที่เขาเอามาใช้ก็เป็นอุปกรณ์สิ่งเดียวกับที่เพลง Electronic ใช้ ดังนั้นเพลง Electronic Music จึงมีอิทธิพลและเข้าไปอยู่ในแต่ละเพลงอย่างไม่รู้ตัว

Tul Waitoonkiat : ใช่ อย่างเช่นเพลง Rock หลายๆเพลง มันใช้กลองโปรแกรมก็มี Electronic Music อยู่ในนั้น

Maft Sai : Beat มันอาจไม่ใช่ House แต่มันใช้อุปกรณ์เหมือนกัน

Tul Waitoonkiat : มันเอื้ออำนวยให้คนที่ไม่มีโอกาสได้เล่นดนตรีจริงๆได้มาทำเพลง อันนี้ก็วัดกันที่ Idea ละ

Maft Sai : แล้วก็เปิดความคิดด้วยว่า สมมุติเราอาจจะเล่นสดแต่วิธีการคิดที่เราจะทำเพลงขึ้นมา มันเป็นวิธีการคิดเหมือนทำเพลง Electronic Music ก็ได้ ใช้ทุกอย่างเป็นเล่น Live Element หมด แต่วิธีการเล่นคือเล่น Loop แล้วค่อยๆเพิ่ม Element ก็มี

***การรวมตัวสำหรับงาน TEMPOLOGY ในครั้งนี้จะเป็นตัวชี้วัดอะไรได้บ้างใน Electronic Music Scene ของบ้านเรา***
Pichy : ไอ้เรื่องการชี้วัดนี่ตอบไม่ได้จริงๆ แต่อย่างที่เรารู้สึกจากใจคือ Tempology เป็นงานที่รวมตัวศิลปินและดีเจที่มีความสนใจในเรื่องเพลงเหมือนๆกัน มาจอย มาแจมเล่นกันปีละครั้ง ทุกๆงานไม่ว่าจะเป็นงาน Tempo หรืองานจาก Promoter อื่นๆ เวลาจัดงานกันมันต้องมีบ้างหล่ะ คนที่ไม่อินกับเพลงแบบนี้ หรือคนที่ไม่เคยมางานประเภทนี้เลย มันดีเสียอีกที่งานแบบนี้ทำให้ศิลปินทุกคนได้เล่นในสิ่งที่เขารักเขาชอบ ได้ Educate คน ได้ทำให้คนแปลกหน้าหรือคนรุ่นใหม่ หันมาฟังเพลงแบบนี้ บางทีอาจจะเป็นที่ริเริ่มทำให้คนรุ่นใหม่ มี Passion อยากจะเป็นดีเจหรืออยากจะเป็น Music producer เลยนะ และนั่นคือสิ่งที่ดีเลยละ

Tul Waitoonkiat : มันก็เป็นทางเลือกนะผมว่า อย่างดนตรี Electronic ที่ TEMPO ทำมันก็อาจจะเป็นดนตรี Electronic ที่หลายๆคนยังไม่ค่อยได้ฟัง ก็เหมือนเป็นการรวมของคนใน Scene เล็กๆ Scene นึงที่มีมิตรภาพให้กัน เป็นเพื่อนฝูงกัน จะมาแสดงอะไรบางอย่างเพื่อเป็นทางเลือกว่าลองมาฟังแบบนี้ดูมั้ย ถ้าชอบก็ดี ถ้าไม่ชอบก็ไม่ว่ากัน

Maft Sai : มาลอง Inspire กับ Sound ใหม่ๆที่บางคนอาจจะไม่คุ้นเคย ไม่เคยได้ยิน หรือบางคนอาจจะไม่ชอบมาก่อน หรือบางคนบอกว่าไม่ชอบแนว House แต่ House มันก็มีเป็นสิบยี่สิบสามสิบแนว แตก Sub-Genre ไปอีกทีนึง ก็เป็นการทดลอง เป็นการ Build Scene ให้มันมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นกับงาน Tempology นี้ แล้วคนใน Scene แต่ละคนก็ทำอะไรไม่เหมือนกัน แต่ว่ามาใน Concept ที่ต้องการนำเสนอ Sound ใหม่ๆให้ฟัง อย่างที่ตุลว่าจะชอบไม่ชอบก็แล้วแต่ บังคับกันไม่ได้

ข้อดีของการรวมตัวกันในครั้งนี้
Pichy : ก็อย่างที่บอกไป Tempology เป็นงานที่รวมตัวศิลปินและดีเจ ที่มีความสนใจในเรื่องเพลงเหมือนๆกัน มีทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ก็จะเป็นงานที่รวมตัวเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ มา Support กัน มันเป็นเหมือนงาน Reunion ประจำปีสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนวดนตรีเต้นรำไปแล้ว

Tul Waitoonkiat : มันคือความสนุกที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าเพื่อนฝูงได้มาเจอกัน เพราะมันเหมือนงานเลี้ยงรุ่น เหมือนงานเฉลิมฉลองที่ 1 ปีมี 1 ครั้ง แล้วก็คิดว่าต่อๆไปศิลปินมันจะมีมากกว่านี้ ถ้าทำให้ศิลปินหรือเด็กวัยรุ่นลุกขึ้นมาทำเพลงใหม่ๆได้เนี่ยะมันประสบความสำเร็จมากนะ

Maft Sai : สำหรับผม ผมเคยเห็นในต่างประเทศมันก็จะมี Scene Festival เล็กๆที่จัดขึ้นมาทั้งใน Berlin, London แต่ว่าในเมืองไทยพูดได้เลยว่ามันไม่มีคนจัด Festival ที่อินกับ Purpose Underground Electronic Music จริงๆ ถ้ามีก็คงเรื่องของ Commercial Electronic แต่งานนี้ผมมองว่ามันเป็นงานของคนใน Scene ที่ชอบเพลง และทำเพลงใน Scene นี้จริงๆมาทำให้มันเกิดขึ้น เป็น Festival ที่ Present เมืองไทยจริงๆ

***อยากรวมตัวทำเพลงกับใครเป็นพิเศษมั้ย***
Tul Waitoonkiat : ถ้ามีเลือดใหม่ๆมาให้รวมตัวกับเราได้ก็คงดี อยากจะเห็นคนรุ่นใหม่มาทำตรงนี้มากกว่านี้นะ เราคิดว่าในวันนึง Scene นี้มันต้องเติบโตกว่านี้ มันต้องมีจำนวนผู้เล่นมากกว่านี้

Maft Sai : จริงแล้วเราก็อยากรวมตัวกันเขาหมดแหละ เราไม่ต้องฝืนว่าเราต้องทำกับคนนี้คนนั้น เรามองว่าเราทำกับใครก็ได้ ถ้าเรามีมุมมองและไอเดียที่มันจูนเข้าหากันได้ แล้วลองมาแจมกัน ว่ามันจะมีผลลัพธ์อะไรออกมา

***ทำไมคุณถึงควรมางาน TEMPOLOGY***
Pichy : ควรมา Support Local กันค่ะ ผู้จัดงาน ศิลปินและดีเจ จะได้มีกำลังใจทำงานกันต่อไป Underground music scene มันก็มีอยู่แค่นี้ ถ้าไม่มีคนมา คนจัดก็ท้อ แต่ถ้ามีคนมา Support Scene มันก็จะช่วยทำให้ Scene เราโตขึ้นไปเรื่อยๆเอง

Tul Waitoonkiat : ผมขอพูดถึงคนที่ไม่เคยมาแล้วกัน ก็อยากจะให้ลองมาดูกัน เพราะดนตรี Electronic มันมีหลากหลาย มันไม่ได้มีแค่ EDM หรือว่าดนตรีที่เราได้ยินอยู่ทุกวัน ไม่ใช่ว่า EDM ไม่ดีนะ แต่แค่มันได้ยินบ่อยเกินไปแล้ว ก็อยากให้ลองเปิดใจ ลองให้โอกาสศิลปินหรือ Dj ทีเขาทำงานสาขาอื่นๆได้ลองแสดงรสนิยมของเขาออกมาบ้าง ถ้าคุณมาแล้วคุณไม่ชอบปีหน้าก็ไม่ต้องมาอีก แต่ว่าถ้ามาแล้วอย่างน้อยได้ชอบเนี่ยะ ปีหน้าคุณก็จะได้มีทางเลือกใหม่ในชีวิตคุณ

Maft Sai : ของผมนะ ผมอยากให้มาเพื่อมาเปิดใจ มานั่งฟังเพลงใหม่ๆ อันนี้สำหรับคนที่ยังไม่เคยมางานนี้นะ ไม่อยากให้มาแล้วยึดติดกับ Sound ที่ตัวเองเคยฟังอยู่แล้ว อยากให้มาแล้วพร้อมใจกันฟังดนตรีเหล่านี้ เพราะว่าจริงๆดนตรี Electronic มันมีหลายแนวมาก แล้วผมไม่เชื่อว่าคนๆนึงจะรู้ทุกแนวของ Electronic ดังนั้นก็มาฟัง Specialist ของแต่ละคนที่มา Present งาน และแนวเพลงของเขาเอง

Tul Waitoonkiat : ของผมจะเป็นแนวเก่าๆ คิดว่ามาย้อนอดีตกันก็ได้ เพราะแนวบางแนวก็หาฟังยากในยุคนี้

Maft Sai : ของผมคงเอาพวก Elctronic Experiment หรือว่า Groove ตั้งแต่ปลาย 70’s, 80’s มาผสมกับพวกของใหม่ๆ แล้วก็ Sound ที่ผมเปิดประจำอยู่แล้วก็พวก Roots Music มีความ World เอามาผสมผสานกัน แต่มันก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะวาง Set เรายังไงให้เรา Happy ด้วย

Tul Waitoonkiat : คือถึงยุคนี้มันพูดยากแล้วละว่าอะไรใหม่ สมมุติพอเราบอกว่า Electronic Music เนี่ยะมันอยู่ในโลกนี้มาหลายปีแล้วนะ ดังนั้นถ้าบางคนบอกว่า Electronic music เป็นดนตรีแนวใหม่ มันไม่ใช่แล้วละ มันเป็นทางเลือกมันมีมานานมากแล้ว ไม่ต่างจากเพลง Rock หรือเพลง Jazz

ทั้งหมดนี้คือตำตอบว่าทำไมดนตรี Electronic music ถึงได้รับความนิยมมากนักในปี 2016 รวมไปถึงมันยังแตกแขนง Sub Genre ออกมาเป็นสิบ เป็นร้อยแนว และทั้งหมดนี้คุณจะได้ฟังมันในงาน TEMPOLOGY 2016 จากศิลปินตัวเก๋าของเมืองไทยทั้ง 30 กว่าชีวิต

Photo : Tavisrut Piper Burapat
Content : Phakavadee Deechuay
Source :
WINKIEB

WINKIEB
bill@tempobkk.com
ผู้รักเสียงเพลง และดนตรีสังเคราะห์เป็นชีวิตจิตใจ

Get to know LUCY and DAMIE before y...

LOOPOuting

Hola Shaka งานเฟสติวัลที่จะทำให้หน้าร้อนไม่น่าเบื่ออีกต่อไป งานนี้รวบรวมกีฬาทางน้ำทุกประเภทเอาไว้ด้วยกัน การันตรีโดย Rip Curl แบรนด์เสื้อผ้าหัวหน้าทัพของเหล่ากีฬา Extream ทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย นอกจากนี้ยัง...

‘Zerng Club’ โปรเจกต์ดนตรีสองขั้วจาก Co...

Design & FABLOOP

Tempo มีเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีและแฟชั่นมาแนะนำ กับการร่วมงานของแบรนด์รองเท้าขวัญใจเด็กวัยรุ่นตลอดกาลอย่าง Converse ที่ดึงเอาศิลปินสองแนวดนตรีมารวมกัน เมื่อสิ่งต่างๆที่ดูไม่เข้าพวก มักจะเกิดสิ่งใหม่ที่คาดไม่ถึงเสมอ ...

เทศกาลดนตรี “มหรสพ” เปิดต...

LOOP

หลังจากรอคอยกันมาหลายปี ในที่สุด Boiler Room ก็จับมือร่วมกับเทศกาลดนตรี “มหรสพ” นำเสนอดีเจและศิลปินไทยให้ทั่วโลกได้รู้จัก BOILER ROOM แพลตฟอร์ม Livestream ที่นำเสนอดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มิวสิกจากประเทศอังกฤ...

Qommon Ground | 2 (Priori, Diskonne...

LOOPOuting

Qommon Ground กลับมาอีกครั้งหลังจากหายไปสองปี พร้อมนําสุดยอดศิลปินมากความสามารถระดับนานาชาติมาสู่กรุงเทพฯอีกครั้ง ตั้งแต่กลางวัน ไปจนถึงกลางคืน ที่ Decommune ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการกลับมาครั้งนี้ Qommon ได้ศิลป...

KicK iii อัลบั้มใหม่ในปี 2021 จาก Arca

LOOP

หลายๆคนคงรู้อยู่แล้วว่า ARCA เปิดตัวซีรีย์อัลบั้มโดยใช้ชื่อว่า KicK i, KicK ii, และสำหรับ KicK iii ซีรีย์ที่ 3 นี้ Arca เรียกมันว่า “เพลิงไหม้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของ KiCK universe.” “มันคือประตูสู่เสียงดน...

TEMPO NEWSLETTER