Nang Visate – The French Connection by Adverb
30/03/2015
By: admin
คำตอบแบบไร้เหตุผลสุดๆก็คือมันถูกนำเสนอออกมาได้เข้ากับยุคสมัยของหนังอเมริกันยุค 70s นั่นคือยุคที่เต็มไปด้วยหนังคุณภาพ เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หนังที่กล้าหาญในการแสดงออกอย่างมีสไตล์ และมีเนื้อหาต่อต้านระบบเก่าๆ หนังเรื่องนี้ก็เช่นกัน แม้หนังจะมุ่งเน้นเล่าเรื่องไปกับวิธีการทำงานของทั้งสองผ่ายทั้งตำรวจและผู้ร้าย ซึ่งต่างพยายามให้ดีที่สุดในงานของตน (ตรงนี้อาจเปรียบได้กับหนังอย่างเรื่อง Heat แต่ไม่ฟูมฟาย ไม่มีดราม่าเกี่ยวกับชีวิตส่วนตำรวจหรือผู้ร้ายเลย) หลังเปิดเรื่องด้วยฉาก Action 2 ฉากติดๆกัน หนังต่อด้วยฉากที่แสดงให้เห็นว่าหนังเรื่องนี้ได้เล่าเรื่องของคนบ้างานจริงๆ ในฉากเป็นบาร์เหล้าและดูเหมือนคู่หูตำรวจคู่นี้เลิกงานมาหาอะไรดื่มก่อนกลับบ้าน แต่จริงๆไปๆมาๆกลับซุ่มมองดูพฤติกรรมของพวกมาเฟีย เพื่อจะหาเบาะแส สาวไปหาคนร้ายตัวจริงให้ได้
หลังจากได้ผู้ต้องสงสัยแล้ว หนังก็เต็มไปด้วยฉาก Action แบบมันส์จริงๆ คือสนุกไม่แพ้หนังใหม่ๆเลยซักนิด แต่จุดที่ทำให้มันแตกต่างออกไปจากหนังตำรวจจับผู้ร้ายทั่วไปๆ ก็คือบทสรุปที่แสนจะเป็นหมัดเด็ดต่อยคนดูให้มึนงงกับคำถามที่ว่า ทำดีได้ดีมันจริงหรือไม่ มันทำให้ตัวละครเอกมีความสุขหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง หรือการเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้าย ในระหว่างดำเนินการสืบสวนนั้น ช่างต่างกันฟ้ากับดิน คนร้ายได้กินอาหารดีๆในที่อุ่นๆ ส่วนตำรวจต้องยืนกินอาหารห่วยๆข้างถนน โดยการให้คนดูเป็นเหมือนนักสังเกตการณ์ ไม่เข้าข้างตัวละครฝั่งไหนซักฝั่ง
หนังเรื่องนี้ไม่เพียงคว้ารางวัลใหญ่ได้เพียงอย่างเดียว ยังได้รางวัลสำคัญๆ อย่างกำกับยอดเยี่ยม เขียนบท ตัดต่อ และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ซึ่งหากมองภาพรวมของหนังเรื่องนี้แล้วทุกรางวัลที่ได้มาเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะว่างานที่ออกมานั้น ลงตัวกับเรื่องที่เล่าออกมา
บอกตามตรงผมหลงใหลภาพยนตร์ก็เพราะหนังอเมริกันยุค 70s นี่แหละที่ทำให้ผมสนใจงานด้านภาพยนตร์อย่างจริงจัง ทั้งนี้ต้องขอชมทั้งตัวคนสร้าง และบรรดาเหล่านายทุนทั้งหลาย ที่กล้าหาญทำหนัง (ที่โคตรดีมากมายหลายเรื่องในยุค 70s ) ออกมา

bill@tempobkk.com