
Interview “ตั๊บ ธ.ไก่ชน” Stage designer of “Mui Fest”
15/10/2018
By: WINKIEB
ผู้ออกแบบ Stage ของงาน Mui Fest นี้ปีจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Designer และสถาปนิกที่มาแรงที่สุดในการสร้าง Stage Installation จากไม้ไผ่ “ตั๊บ ธ.ไก่ชน” หรือ “ธนพัฒน์ บุญสนาน” เจ้าของบริษัทผลิตและออกแบบงานสถาปัตยกรรมไม้ไผ่สมัยใหม่ ที่ไม่มีใครไม่รู้จักเขา
ตั๊บเล่าความเป็นมาของ ธ.ไก่ชนให้ฟังว่า “เขาก่อตั้งบริษัทนี้มามาประมาณ 6 ปีแล้ว จากความไม่ได้ตั้งใจ เพียงแค่เพราะชื่นชอบธรรมชาติ และอยากทำงานที่ใช้วัสดุและอุปกรณ์จากธรรมชาติเท่านั้น จึงเริ่มศึกษาด้วยตัวเอง โดยเดินทางไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ และเริ่มเรียนรู้จากคนพื้นบ้าน และชาวเขาที่เขาใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งเหล่านี้ พอทำความเข้าใจมาได้สักระยะ ก็จับพลัดจับผลูมาออกแบบโรงแรมที่เชียงใหม่ให้กับคนรู้จัก เลยเป็นเหตุจำเป็นที่จะต้องเปิดบริษัท เพื่อ Treatment ไม้ไผ่ การ Treatment นี้ก็เพื่อกันมอด และดูแลให้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น และจากวันนั้นนั้นเองจึงทำให้เกิดเป็น ธ.ไก่ชนขึ้นมา”


หลังจากเปิดบริษัทมานานถึง 6 ปีก็มีทั้งผลงานสถาปัตยกรรม งาน Installation ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ เมื่อก่อนจะเน้นไปที่งานสถาปัตยกรรมซะส่วนใหญ่ มาในช่วง 3 ปีหลังจึงมาจริงจังกับงาน Installation ที่ผสมเข้ากับดนตรีและ Visual Design ที่ได้เห็นตามงานต่างๆ
หลายๆคนอาจเห็นผลงานแล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษางานสถาปัตยกรรมชนิดนี้ ที่ตั๊บเรียกแนวการออกแบบของตัวเองว่า Neo-Bamboo Architecture
“พอปีที่ 6 ก็จะเริ่มรู้แล้วว่าเราเป็นสไตล์ไหน เราสามารถบอกได้เลยนะว่าเราเป็น Neo-Bamboo Architecture มีอาจารย์ที่ศิลปกรเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วเอาเราเป็น Case startdy ค่อนข้างเยอะ เราเลยรู้สึกว่าเรามาอยู่ในยุคที่มีงานออกแบบที่เป็น Thai Bamboo Architecture จริงๆ ซึ่งสมัยก่อนไม่มีคำนี้ไม่มีใครกำหนดขึ้นมา มันเพิ่งมาเริ่มใช้เมื่อไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าอีก 10 ปีต่อจากนี้คนจะเริ่มรู้จักว่า Thai Bamboo Architecture มากขึ้นว่ามันคืออะไร”
“ไม้ไผ่ที่ใช้งานส่วนมากเป็นไม้ไผ่ที่คุณภาพไม่ดีพอจะขายลูกค้า หรือมีงานใช้งานไปแล้ว เรากลับมา reuse และ redesign จากที่เคยจะทิ้ง มันกลับสร้างมูลค่าโดยการเป็นเวทีคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายก่อนที่มันจะถูกทิ้ง และย่อยสลายไปในธรรมชาติ บางทีอาจสร้างมูลค่าได้มากกว่าไม้ดีๆด้วยซ้ำ ทุกคนจดจำภาพของมัน รู้สึกดีกับไม้ไผ่ มากกว่าเคยเป็นไม้ที่ราคาถูกข้างทางตามพื้นฐานความคิดของคนไทย(บางส่วน)”
“สำหรับตัวเองตอนนี้ก็มีเทคนิคที่ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าผลงานของเราจะออกมาในรูปแบบไหน และไม้ไผ่จะเป็นสไตล์แบบไหนมันเกิดจาก 2 สิ่ง
1. เทคนิค เราใช้เทคนิคจากที่เรามี จากตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง และอุปกรณ์ที่เรามี
2. ไม้ไผ่ มันคือไม้ไผ่จากประเทศเราเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดรูปทรงแบบนี้ขึ้นมาได้
สองสิ่งนี้มันทำให้เกิดงานที่เราชื่นชอบ เราจะไม่ทำอะไรเกินขอบเขตหรืออะไรที่มันมี Stucture มากเกินไป ทำให้ออกมาแล้วเราเข้าใจมันมากที่สุด”


ทั้งหมดทั้งมวลนี้เองที่ทำให้เข้าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Mui Fest “จริงๆเราทำงาน Festival งานหนึ่งมาก่อน เรียกได้ว่ามันคือโรงเรียนแห่งแรกที่สอนเราให้เข้าใจดนตรี ที่ซิ้งค์กับงานสถาปัตยกรรม งานแรกก็ยังมีข้อผิดพลาดหลายอย่าง จนมาล่าสุดที่ได้ร่วมงานกับทีม kor.bor.vor ทำให้เราได้เข้าใจงาน Installation กับดนตรีและ Visual Mapping มากขึ้น การออกแบบจึงต้องให้ทำให้คนที่มา Stage นี้สามารถอยู่กับงานนี้ได้ตั้งแต่เริ่มจนจบงาน โดยที่ไม่เบื่อ”
เราคงได้เห็นในรอบสื่อไปแล้วว่า Stage ของงานนี้จะล้อไปกับธรรมชาติ และแต่ละ Stage ก็จะมีแนวดนตรีที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้แต่ละ Stage มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมือนได้มาดูงานอาร์ตงานหนึ่งยังไงยังงั้น “อย่าง Mui fest การออกแบบก็จะใช้ไม้ไผ่เป็นหลัก มันก็จะคลุมตรีมนี้อยู่แล้วเราดูจาก Key visual และบรรยากาศของพื้นที่การจัดงาน เมฆก็ต้องเป็นเมฆ ต้องให้เข้าใจง่ายและเป็นรูปธรรม และทุกเวทีของงานนี้เราจะไม่ออกแบบให้เหมือน Festival ทั่วไป”



“Mind stage เรา Focus กับดนตรี Techno ไฟก็จะถูกฉายเข้าที่ก้อนเมฆไม้ไผ่ที่เราออกแบบ ไม่ว่าพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกเราก็จะเห็นก้อนเมฆตัวนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ความรู้สึกจะเปลี่ยนไปตาม Element ที่เราใส่ลงไปกับ Lighting และ Visual วิธีการทำงานของ Stage นี้คือเราดึงความสามารถของไม้ไผ่ออกมาเยอะ อย่างการดัดโค้ง ที่ไม่มีไม้ชนิดไหนสามารถทำได้โดยไม่แปรรูป”
“Inspire Stage ด้วยความที่มันเป็นเนตรี World Music เราออกแบบให้มีความ organic ให้ศิลปินและคนดูได้ Into the music เราเอาไม่ไผ่ไปพันเข้ากับต้นไม้เพื่อไล่ระดับ ลักษณะจะคล้ายๆเครื่องจักรสาน โดยใช้เชือก และไม้ไผ่ขันชะเนาะเพื่อล๊อคไม้แต่ละชิ้น เอาจริงๆคือทำให้มันออกมาเป็น Organic มากที่สุด”
“Ultimate stage ถือว่าเป็นการทำงาน Stage EDM ครั้งแรก เลยตีความเอาสิ่งลึกลับใต้ทะเล (Kraken) มาใช้กับ Stage นี้ เราพยายามทำให้ไม้ไผ่พริ้วไหวมากที่สุด เหมือนหนวดปลาหมึกยักษ์กำลังเขมือบคนดู โครงสร้างของตัวนี้เราจะไม่ใส่เหล็กเข้าไปเลย ใช้การดัดไม้ไผ่แทนโดยจินตนาการว่าพื้นที่ตรงนั้นมีสัตว์ประหลาดอยู่ใต้พื้นดิน ใส่ Lighting และ Projection mapping ล้อเข้าไปกับหนวดให้รู้สึกว่าเป็นผิวของสัตว์ประหลาดจริงๆ เวทีนี้ใช้เรื่องของสถาปนิกเข้ามาช่วยเยอะมาก รวมไปถึงทีม Visual ก็ได้ทีมออกแบบที่ชื่อ S-p-i-n จากประเทศเยอรมันนีมาร่วมงาน ทำให้ Stage นี้เป็นผลงานที่ชื่นชอบมากอีกหนึ่งตัว และพูดได้เต็มปากว่าเป็นงาน Sculpture ของการสร้าง Stage ในงาน Electronic Music Festival จริงๆ”
“สุดท้ายนี้นี้ผมอยากฝากให้คนที่ชอบงานมิวสิคเฟสติวัล ที่เน้นงานศิลปะวัสดุธรรมชาติ และไลฟ์สไตลชายหาดทะเลไทย ช่วงปลายปีนี้ไม่มีที่ไหนดีกว่านี้แล้ว”

ทั้งหมดนี้คือบทสัมภาษณ์ของศิลปินและสถาปนิกรุ่นใหม่ ที่ดึงเอาผลงานสถาปัตยกรรมมาใช้กับดนตรี Electronic Music และงาน Music Festival โดยยังคงอิงกับธรรมชาติและดึงเอา Material และเทคนิคพื้นบ้านของไทยออกมาได้อย่างดีเยี่ยม Mui Fest จึงเป็นอีกหนึ่งงานที่นอกจากดนตรีแล้ว งานศิลปะก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณไม่ควรพลาด

WINKIEB
bill@tempobkk.com
ผู้รักเสียงเพลง และดนตรีสังเคราะห์เป็นชีวิตจิตใจ